24 มกราคม 2554

แนวตอบ 640 ของ อ.กฤษ no1

แนวตอบ 640 ของ อ.กฤษ no1

โจทย์      เป็งกีสข่านกล่าวไว้ในกาละลุถึงไตรมาสที่ 3 แห่ง พุทธศักราช 2543 ว่า "ผู้นำองค์การที่ไร้วิสัยทัศน์ที่เหมาะสมย่อมนำพาองค์การไปสู่ภาวะความสิ้นสุดความเป็นองค์การ (Organizational Termination) ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ว่ายวนอยู่ในความแปรปรวนภายในองค์การจนยากที่จะอยู่รอดได้  ในสภาพแวดล้อมภายนอกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป"  และได้แสดงทัศนะที่มีต่อผู้บริหารประเทศในปัจจุบันสมัยว่า "ผู้นำประเทศที่มีวิสัยเช่นม้าเมืองลำปางเช่นกันย่อมนำพาประเทศไปสู่ภาวะอับจนของความสิ้นสุดความเป็นประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจ-การเมืองของตนเองอย่างแท้จริงและยากที่จะส่งเสริมให้ประเทศดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในเวทีเศรษฐกิจ-การเมืองระหว่างประเทศ"

                ให้นักศึกษาเลือกทัศนะใดทัศนะหนึ่งจากทัศนะทั้ง 2 ข้างต้น เพื่อ

1)            แสดงความคิดเห็นต่อทัศนะดังกล่าว

2)            เสนอคำนิยามของ "วิสัยทัศน์ (vision)"*และวินิจฉัยว่า วิสัยทัศน์มีประโยชน์ต่อ (1) การวินิจฉัยปัญหาเชิงกลยุทธ์ (Diagnosis of strategic problems)  (2) การวิเคราะห์ระดับการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์  (3) โครงสร้างองค์การและวัฒนธรรมองค์การ ตลอดจน  (4) การเลือกแนวทางในการวางแผนและการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างไร

3)            วินิจฉัยว่า  วิสัยทัศน์มีความเชื่อมโยงกับและมีประโยชน์ต่อการควบคุมเชิงกลยุทธ์อย่างไร โปรดแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกระบวนการ

คำถาม

1)            แสดงความคิดเห็นต่อทัศนะดังกล่าว

ตอบ       เห็นด้วย เพราะถ้าผู้นำไม่มีวิสัยทัศน์จะทำให้ขาดทิศทางในการทำงาน ไม่มีเป้าหมาย ขาดประสิทธิภาพประสิทธิผล ขาดพันธะผูกพัน ขาดการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขาดการพิจารณาเรื่องเงื่อนเวลา ขาดการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ไม่รู้อนาคต ขาดการมองการณ์ไกล เสียความสามารถในการแข่งขัน  ไม่สามารถมองและแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาได้  สูญเสียความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทำให้องค์การสูญสลยไปในที่สุด

คำถาม

2)            เสนอคำนิยามของ "วิสัยทัศน์" และวินิจฉัยว่าวิสัยทัศน์มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัย

ปัญหาเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ระดับการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ โครงสร้างองค์การและวัฒนธรรม  ตลอดจนการเลือกแนวทางในการวางแผน และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างไร

ตอบ       วิสัยทัศน์ หมายถึง เจตน์จำนงค์ ความมุ่งหวังที่กว้าง ครอบคลุมทั้งหมดคิดไปข้างหน้า คิด

ถึงสิ่งที่พึงปรารถนาในอนาคตโดยไม่ระบุถึงวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

โมเดลการบริหารเชิงกลยุทธ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


อธิบาย

                กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์มี 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1   วิเคราะห์สภาพแวดล้อม

                คือ กระบวนการตรวจสอบติดตามสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกภายในองค์การที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของเป้าหมายขององค์การ เพื่อค้นหาสิ่งคุกคามและโอกาส  ตลอดจนความพร้อม

จุดแข็ง จุดอ่อนภายในองค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ขั้นที่ 2   กำหนดทิศทางขององค์การ

1)            กำหนดวิสัยทัศน์  คือ เจตน์จำนง ความมุ่งหวังปรารถนาในอนาคตอย่างกว้างขวาง

ยิ่งใหญ่ ยาวไกล สูงส่งและลึกล้ำ ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง

2)            กำหนดพันธกิจ  คือ การแปลงวิสัยทัศน์ซึ่งเป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม การสร้าง

พันธกิจให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้านควรตอบคำถาม 9 ข้อดังนี้

2.1)     เหตุผลที่องค์การของเราต้องมีอยู่

2.2)     ผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การเราคืออะไร

2.3)     เราจะตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร

2.4)     เอกลักษณ์ขององค์การเราคืออะไร

2.5)     เราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า

2.6)     ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการหลัก ๆ คือใคร

2.7)     สินค้าและบริการของเราในปัจจุบันและอนาคตคืออะไร

2.8)     สิ่งที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจหลัก ๆ ของเราคืออะไร

2.9)     ความเชื่อ ค่านิยมขององค์การของเราคืออะไร

การกำหนดพันธกิจทำให้ผู้บริหารสามารถจัดลำดับความสำคัญ ช่วยในการตัดสินใจ

และรู้เกณฑ์ผลการปฏิบัติงาน สามารถให้นิยามของธุรกิจขององค์การได้

3)            กำหนดจุดมุ่งหมาย 8 ประการ

3.1)      ความสามารถในการทำกำไร

3.2)      ผลิตภาพ

3.3)      ตำแหน่งทางการตลาด

3.4)      ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์

3.5)      การพัฒนาบุคลากร

3.6)      ทัศนคติของบุคลากร

3.7)      ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

3.8)      ดุลภาพระหว่างจุดมุ่งหมายระยะสั้นและระยะยาว

ขั้นที่ 3   การสร้างกลยุทธ์

                เมื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและกำหนดทิศทางขององค์การแล้วก็มาถึงการกำหนดทางเลือกในการปฏิบัติหรือกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าองค์การจะบรรลุความสำเร็จ โดยอาศัยเครื่องมือในการสร้างกลยุทธ์ ได้แก่ SWOT Analysis, Critical Question Analysis, GE's Multifactor Portfolio Matrix

ขั้นที่ 4   การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

                ผู้บริหารจะต้องเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

1)            องค์การจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด

2)            การจัดการวัฒนธรรมองค์การ

3)            โครงสร้างที่เหมาะสม

4)            วิธีการเลือกกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

5)            ทักษะของผู้บริหารที่ต้องการ

ตัวแบบ 5 ขั้นตอนของกระบวนการแปลงกลยุทธ์ไปส่การปฏิบัติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ขั้นที่ 5   การควบคุมเชิงกลยุทธ์

                โมเดลกระบวนการควบคุมเชิงกลยุทธ์

 

กล่องข้อความ: จุดเริ่มต้นของการควบคุม
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


การควบคุมโดยทั่วไป หมายถึง การทำให้สิ่งที่วางแผนเอาไว้เกิดขึ้น แต่การควบคุมเชิงกลยุทธ์จะมีจุดเน้นที่การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่วางแผนไว้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

                เริ่มจากการวัดผลงาน เปรียบเทียบกับจุดมุ่งหมาย 8 ประการ มาตรฐาน ถ้าได้มาตรฐาน ไม่ต้องแก้ไข ถ้าไม่ได้มาตรฐานทำการแก้ไขโดยปรับเปลี่ยนแผน, ปรับเปลี่ยนองค์การหรือปรับเปลี่ยนวิธีการ แล้วปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นวิธีใหม่  จากนั้นทำการวัดผลงานอย่างต่อเนื่องต่อไป

                สิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ คือ การปฏิบัติการด้านต่างประเทศและบริษัทข้ามชาติ  ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อองค์การ และความรับผิดชอบต่อสังคมที่อาจจะมีผลกระทบต่อองค์การ

                โครงข่ายการวิเคราะห์ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ใช้การวิเคราะห์ด้านการผลิต, การเงิน และการตลาด

 

 

 

 

 

คำถาม

                3)  วินิจฉัยว่า  วิสัยทัศน์มีความเชื่อมโยงกับการควบคุมเชิงกลยุทธ์อย่างไร

ตอบ

                หลังจากเริ่มต้นประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและอุปสรรคขององค์การ และสภาพแวดล้อมภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน เพื่อประเมินความพร้อมและขีดความสามารถขององค์การ ก็จะได้ข้อมูลมากำหนดทิศทางและเจตน์จำนง คือ วิสัยทัศน์ขององค์การแปลงวิสัยทัศน์ให้เป็นรูปธรรมโดยกำหนดภารกิจหรือพันธกิจ แล้วกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อให้

พันธกิจสำเร็จ แล้วจึงกำหนดวัตถุประสงค์  ต่อจากนั้นทำการกำหนดกลยุทธ์ แล้วเลือกกลยุทธ์ที่เห็นว่าเหมาะสมไปปฏิบัติ  จากนั้นทำการควบคุมเชิงกลยุทธ์แล้วส่งข้อมูลย้อนกลับไปยังขั้นตอนต่าง ๆ   นอกจากขั้นตอนทั้งห้าขั้นแล้วต้องคำนึงถึงปัจจัยพิเศษ คือ ปฏิบัติการด้านการต่างประเทศ และบริษัทข้ามชาติกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ  แล้วใส่ข้อมูลการวิเคราะห์ 3 ด้านเข้าไปด้วย  คือ การวิเคราะห์ด้านการผลิต, การวิเคราะห์ด้านการเงิน และการวิเคราะห์ด้านการตลาด

 

แนวตอบ 640 ของ อ.กฤษ no2

ถามว่า มีทฤษฏีใดที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการบริหารพัฒนาในยุคปัจจุบัน ?

 

ทฤษฎีดังกล่าว ได้แก่  " ทฤษฎีรัฐประศาสนเศรษฐศาสตร์ " ซึ่งนำเสนอโดย  ท่านเป็งกีสข่าน หรือ ศ.ดร. กฤษ  เพิ่มทันจิตต์ ซึ่งถือว่าเป็นกรอบทฤษฏีใหม่ที่อาศัยการบูรณาการ ของหลักการและเหตุผลบนของพื้นฐานของทฤษฎี ต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ผสานกับกรอบแนวคิดทางพุทธศาสนา ซึ่งถือได้ว่า เป็นแนวคิดของโลกตะวันออก อันยิ่งใหญ่และชาญฉลาดล้ำเลิศ และก่อให้เกิดคุณอนันต์ต่อมวลมนุษย์มาเป็นเวลายาวนาน

 

หลักการและกรอบแนวคิด :

" ทฤษฎีรัฐประศาสนเศรษฐศาสตร์ " เกิดจากการบูรณาการของ 6 ส่วนประกอบด้วยกัน คือ

1.                                      ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง ( Political Economics )

                ศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นเศรษฐศาสตร์ที่เสนอหรือศึกษากระบวนการต่างๆ ทางสังคมและสถาบัน ที่ซึ่งกลุ่ม

ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจและการเมือง มีอิทธิพลครอบงำการจัดสรรทรัพยากรการผลิตที่หายาก ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตนโดยเฉพาะ เป็นสำนักความคิดที่ใช้พื้นฐานปรัชญาวัตถุนิยม      

                ประวัติศาสตร์ และใช้ตรรกแบบวิพากษ์วิธี

2.                                      ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สถาบัน /การพัฒนา ( Institutional / Development  Economics )

                เศรษฐศาสตร์พัฒนาเล็งเห็นความสำคัญของบทบาทรัฐบาลในการบรูณาการการตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่

                นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจทั้งมวล เน้นหลักการที่เกี่ยวกับการเสนอเงื่อนไขต่างๆทางเศรษฐกิจ 

วัฒนธรรมและการเมืองเพื่อส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและสถาบันอย่างรวดเร็ว เป็นการเปลี่ยนแปลงสำหรับสังคมทั้งมวล สามารถนำมาซึ่งผลพวงของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจไปสู่มวลชนต่างๆ อย่างกว้าง ขวาง ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนรวยหรือต่างชาติ

3.                                     ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ ( Public Administration ) บนพื้นฐานของแนวคิด ทศพิธราชธรรม

4.                                     พุทธศาสนา ( Buddhism ) เป็นโครงสร้างส่วนบน

5.                                     จิตสำนึกในจริยธรรม คุณธรรมที่มีต่อส่วนรวมของทุกภาคส่วน

6.                                     ใช้ วิธีการแห่งปัญญา 10 ประการ ที่เรียกว่า " โยนิโสมะนะสิการ" และการคิดแบบตรรกะวิภาษวิธีที่

ในการคิด และการทำ ( การวางแผนและการควบคุม) ให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมาย

 

ปรัชญาของทฤษฎีฯ :

                                มุ่งต่อสู้กับกระแสแนวคิดทุนนิยมอเมริกัน ( Capitalism )  ด้วยการนำเสนอหลักการและการบริหารใน

ภูมิทัศน์ใหม่ เพื่อสร้างสังคมที่เป็นสุขนิยม ( Optimism ) ให้ทุกสังคมเป็นสังคมแห่งการกินดีอยู่ดี มีสมานฉันท์ และ

สันติสุข

 

เจตจำนง : 

เพื่อแก้ไขล้มล้าง ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอันเลวร้ายที่เกิดจากกระแสทุนนิยม โดยมุ่งไปสู่

1.                                     สร้างวิถีแห่งการผลิตที่มีศักยภาพ นำเสนอการปฏิวัติทางความคิด เพื่อการปฏิวัติทางสังคม ( Social

Reform )

2.                                     ก่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมโลก คนทุกกลุ่มได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องการกระจายรายได้

( Income Redistribution )

3.                                     ป้องกันการเกิดความเจ็บป่วยทางสังคม ( Social Illness ) เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางโอกาส

4.                                     สร้างระบบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน ( Stability & Sustainability )

5.                                     ป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ( Corruptions ) ทั้งที่เป็น การทุจริตเชิงนโยบาย ( Policy Corruption )

และผลประโยชน์ทับซ้อน Conflict of Interest

6.                                     สร้างเสริมสังคมที่มีสันติภาพ ( Peace ) และปราศจากสงคราม ( War of Ecomomy ) ด้วยความสมเหตุ

สมผลทางการตลาดและสังคม ( market & Social Rationalities )

 

แนวทางในการนำทฤษฎีไปปฏิบัติ : 

ข้าพเจ้าขอยกตัวแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์  การบริหารเชิงกลยุทธ์ ( Strategic mangement )  5 ขั้นตอน ของ Certo & Peter เพื่อนำมาช่วยในการขยายความ และในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีรัฐประศาสนเศรษฐศาสตร ของท่าน เป็งกีสข่าน ข้างต้น กับประเทศไทย ได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1          การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ( Environmental Analysis )

ขั้นตอนที่ 2          การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ ( Establishing Organization Direction )

ขั้นตอนที่ 3          การกำหนดกลยุทธ์( Strategy Formulation )

ขั้นตอนที่ 4          การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)

ขั้นตอนที่ 5          การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Evaulation)

 

1.                                      การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  ใช้แนวคิด SWOT Analysis ของ Henry Mintzberg เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็ง

เพื่อค้นหาโอกาสและอุปสรรคของประเทศไทย ซึ่งพบว่า

จุดแข็ง    คือ        ประเทศไทยมีความพร้อมเพรียงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ

มีความหลากหลายทางชีวภาพของชีวภูมิศาสตร์

มีภูมิปัญญาไทย    ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเลิศ

 

                               

 

จุดอ่อน   คือ        ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี อุตสาหกรรมต่างชาติ ไม่ได้ยืนบนขาของตัวเอง

                                                                ต้องพึ่งพาทุนจากต่างประเทศ

 

                                โอกาส   คือ           กลายเป็น " ศูนย์กลางการผลิตอาหาร หรือ ครัวโลก" ที่เลี้ยงคนในชาติ

                                                                อย่างเพียงพอ และเลี้ยงประชากรโลกได้ เพราะอาหาร เป็นอาวุธต่อรองที่สำคัญ

 

                                อุปสรรค  คือ        โครงสร้างระบบเศรษฐกิจภายในประเทศอ่อนแอ

ต้องพึ่งภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ละเลยภาคเกษตรกรรม ที่เป็นพิ้นฐาน 

รากเหง้าของประเทศ

เมื่อทราบจุดแข็งจุดอ่อน ของประเทศไทยแล้ว และยังพบว่ามีปัญหาและอุสรรคหรือมีโอกาสในด้าน ใดบ้างที่จะสามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศได้ ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนลำดับที่ 2 ซึ่งนั่นก็คือ

                                               

2.                                      การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ 

โดยใช้แนวคิด เกษตรอุตสาหกรรมใหม่ หรือ Newly Agro-Industrialized Country หรือ NAIC ของ

 ท่าน ศ. ดร. กฤษ  เพิ่มทันจิตต์  เพื่อกำหนดทิศทางเดียวหรือ แนวทางในการปฏิบัติของทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้มุ่งไปสู่เป้าหมายหรือเป้าประสงค์ทั้งองค์การอันเดียวกัน

 

วิสัยทัศน์ คือ " เกษตรนำ  อุตสาหกรรมหนุน บริการเสริม "  ( วิสัยทัศน์ทั้ง 8 ลอกในโจทย์ได้ )

 

พันธกิจ คือ การวางแผนที่ทุกคนมีส่วนร่วมและพัฒนาขับเคลื่อนโดย จตุภาคี อันได้แก่

เกษตรกร  ผู้ใช้แรงงานกาย ผู้ขายแรงงานสมอง และนายทุนผู้รักความยุติธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ทางเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าในระยะยาวและยั่งยืน และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมด้วยหลักการบริหาร ภายใต้ระบบคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสังคมที่ดีงาม และสันติสุข

 

ในทรรศนะของ John Friedman ในเรื่องของ Politic Planning Theory  โดยแนวคิด เกษตรอุตสาหกรรม

ใหม นี้จัดอยู่ในกลุ่ม Radical หรือ แนวคิดหัวก้าวหน้า ที่มุ่งส่งเสริมความความเท่าเทียมกัน และความเป็นธรรม ในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายของการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ ( Knowledge to Action ) ในแนวทางของ "การปฏิรูปสังคม  ( Social Reform ) " โดย    "ใช้ปัญญาเป็นอาวุธ "   ตามแนวคิดของท่านเป็งกีสข่าน เพื่อให้บรรลุผลทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง บนพิ้นฐานการมีส่วนร่วม และ ความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเป็นการวางแผนทางการเมืองที่เหมาะสมที่สุด

                และในขั้นตอนต่อไปก็จะทำการกำหนดแผนต่างๆเป็นกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจข้างต้น

 

3.                                      การกำหนดกลยุทธ์  

ใช้กลยุทธ์รุกหน้าหรือเชิงรุก SO ( Strength- Opportunity Strategy ) ตามหลักของ SWOT Matrix ของ Henry Mintzberg ซึ่งสอดคล้องกับจุดแข็งและโอกาสของประเทศไทยดังที่ได้วิเคราะห์ ไปแล้ว ดังนั้นจึงควรกำหนด กลยุทธ์ของแนวคิด NAIC  ที่เป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติ ดังนี้

1.                                     พัฒนาส่งเสริมภาคเกษตรกรรม โดยส่งเสริมทางด้านทุน ที่ดิน เทคโนโลยี การวิจัย  การจัดการ R&D , MIS  รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ แรงงาน และสิ่งแวดล้อมในเชิงอนุรักษ์และ พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการ

2.                                     ส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติ

3.                                     ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของชีวภูมิศาตร์ เพื่อ

พัฒนาให้ไทย กลายเป็น ครัวของโลก/ศุนย์กลางแหล่งผลิตอาหารโลก

4.                                     ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรขั้นปฐมภูมิ ส่งเสริม SME เพื่อพัฒนาตลาด

ภายในประเทศ เพื่อสร้างอำนาจซื้อและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายใน ลดการพึ่งพาการส่งออก เกิดการกระจายรายได้

5.                                     แก้ไขกฏหมายและนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุน เช่น ยกเลิกสัมปทานผูกขาดตัดตอน เก็บภาษีมรดก แก้ไขโครงสร้างส่วนบนของสังคม เช่นโครงสร้างการบริหาร ระบบราชการ ฯลฯ  ส่งเสริมประชาธิปไตยระดับรากแก้วเช่น อบต.อบจ. เน้นการมีส่วนร่วมในวิถีประชาธิปไตย การกระจายอำนาจ ส้รางจิตสำนึกสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต

6.                                     ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมในสังคมให้อยู่กินภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง เน้นความสมดุล

ระหว่างเศรษฐกิจ-ชีวิต-สังคม กับระบบนิเวศน์ ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ เน้นสังคมการพึ่งพา ช่วยเหลือเกื้อกูลแบบวิถีไทย

                                ซึ่งกลยุทธ์ต่างๆข้างต้นเหล่านี้ จะต้องแปลงเป็น นโยบายสาธารณะ ที่มีกฏหมายรองรับ หรือต้องชอบ ด้วยกฏหมาย

 

 

                4.            การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ   ใช้หลักแนวคิดทางในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 5C ของ Brodwin

ซึ่งจากกลยุทธ์ที่ได้กำหนดไปแล้วข้างต้น จะต้องมีการนำไปปฏิบัติ โดยใช้แนวทางแบบวัฒนธรรม

( Cultural Approach ) ซึ่งหมายถึงผู้นำ จะเป็นผู้กำหนดกรอบวิสัยทัศน์ และสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจ กรอบวิสัยทัศน์

ให้คลอบ คลุมพันธกิจของอค์การ โดยผู้นำจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้ผู้ปฏิบัติในระดับ ล่างมีความเข้าใจ เกิดความรู้

และทักษะในนำไปปฏิบัติงานได้จริง  โดยใช้วิธีการสร้างวัฒนธรรมองค์การ ให้เแข็งแกร่งคือปลูกฝังหลักแนวคิด

" เกษตรนำ อุตสาหกรรมหนุน และ บริการเสริม"  โดยเน้นการ ดำรงชีวิตบนความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ-

ชีวิต-สังคม กับระบบนิเวศน์  และอาจใช้ตัวแบบของ Bonoma ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการกำหนดกลยุทธ์และ การนำกลยุทธ์ไป ปฏิบัติดังนี้

การกำหนดกลยุทธ์ ( การคิด ) Strategy Formation

 
 

 


                                                                                ดี                                                เลว

Strategy Implementation

การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

 
                                                ดี               สำเร็จ/Success   เสี่ยง/Roulette

 

                                                เลว          ยุ่งเหยิง/Ttouble                  ล้มเหลว/Failure

 

                  จากตัวแบบข้างต้นสรุปได้ว่า การกำหนดกลยุทธ์จะต้องดี ( คิดถูก ) และการนำไปปฏิบัติต้องดีด้วย( ทำถูก )  จึงจะประสบความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ

การนำนโยบายฯหรือกลยุทธ์ NAIC ไปปฏิบัติต้องมีการกำหนดภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นผู้กำหนดนโยบาย วางแนวทาง ประสานงานและให้การสนับสนุน มีระบบราชการ  เป็นผู้ขับเคลื่อน ส่งเสริมให้นโยบายของรัฐไปสู่ภาค ประชาชน และ ภาคประชาชน เองก็เป็นผู้นำแนวคิดไปปฏิบัติให้สอดคล้อง โดยทุกส่วนจะต้องประสาน ร่วมมือกัน เพื่อให้กลยุทธ์ต่างๆตามแนวคิดของ NAIC บรรลุผลอย่างแท้จริง

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีก 1 กระบวนการที่ต้องดำเนินต่อไป เพื่อให้กระบวนการทั้งหมดตาม หลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ ( Strategic mangement ) 5 ขั้นตอน ของ Certo & Peter  ครบถ้วนสมบูรณ์

ซึ่งได้แก่ขั้นตอน

 

5.                                     การควบคุมกลยุทธ  ใช้ตัวแบบ A General Model ของ Certo & Peter โดยมีหลักการว่า เป็นการ

ควบคุมที่มีลักษณะพิเศษ คือ ครอบคลุมการติดตาม ( Monitoring ) การประเมินผล ( Evaluating )  และการ ปรับปรุงแก้ไข ( Improving ) และเป็นการควบคุมระดับสูงที่เป็นการควบคุมในระยะยาว เป็นการควบคุมที่กว้าง และเจาะลึก โดยสามารถนำเสนอในตัวแบบข้างล่างนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


จากตัวแบบข้างต้น  มาตรฐานที่เป็นตัวตั้งสามารถกำหนดได้จาก

                1.            จากภายในองค์การ   ใช้คนที่ทำงานประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบ

                2.            จากภายนอกองค์การ          ใช้องค์การหรือคู่แข่งที่ประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบ

                                กระบวนการควบคุม จากตัวแบบข้างต้นมี 3 ขั้นตอน คือ

1.                                     การวัดผลการดำเนินงาน โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐาน โดยใช้วิธีการวัดเชิงปริมาณ โดยอาศัยข้อมูลที่

เป็นตัวเลข เช่น ผลกำไร ผลิตผล ตำแหน่งทางการตลาด ฯลฯ และการวัดผลเชิงคุณภาพโดยใช้ข้อมูลจาก แบบสอบถาม

2.                                     เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน กับ จุดมุ่งหมายและมาตรฐานต่างๆ

3.                                     ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หากพบว่า ผลงานต่ำกว่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ และทำงานเช่นเดิม หากพบว่า

ผลงานเท่ากับหรือสูงกว่ามาตรฐานอยู่แล้ว     

บทสรุป                                 (  คิดเอาเอง   สรรเสริญเยินยอเข้าไปค่ะ)                                                                                                                                                                                                                ;                                                                                                                                                                                                                                                                 ;                                                                                                                                                                                                                                                                 ;                                                                                                                        

 

 

แนวตอบ 640 ของ อ.กฤษ no3

คำถามที่1.สรุปสาระสำคัญของการบริหารงานยุคใหม่ภายใต้ภูมิทัศน์การแข่งขันใหม่

            จากหนังสือ หลักการและแนวทางการบริหารงานยุคใหม่ภายใต้ภูมิทัศน์การแข่งขันใหม่ ข้อสังเกตเชิงวิจารณ์ ภายใต้กรอบคุณค่าทางสังคมและพุทธธรรม และแนวทางการบริหารแนวพุทธ ของ ศ.กฤษ เพิ่มทันจิตต์ ได้กล่าวไว้ว่า ศาสตราจารย์ Thomas S. Bateman และ ศาสตราจารย์  Scott A. Snell ได้เขียนหนังสือเรื่อง Management : The New Competitive Landscape (การจัดการในภูมิทัศน์การแข่งขันใหม่) ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญของการบริหางานยุคใหม่ภายใต้ภูมิทัศน์การแข่งขันใหม่ได้ดังนี้

 

 เมื่อทศวรรษที่ 21 เริ่มขึ้น ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมในโลกอยู่ในภาวะพุ่งทะยานขึ้น ระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีระดับสูงทวีความร้อนแรงขึ้น บริษัทห้างร้านเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม องค์กรธุรกิจจำนวนมากตกต่ำอย่างรวดเร็ว นอกจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารที่ประยุกต์ใช้หลักบริหารแบบผิดๆ ขาดประสบการณ์ ขาดความเชี่ยวชาญในการบริหาร มักจะตัดสินใจผิดพลาด นำองค์กรไปสู่ภาวะสิ้นสุดความเป็นองค์กร

 

อย่างไรก็ตามองค์กรที่จะอยู่รอดได้จะต้องปรับตัวเองได้อย่างสำเร็จกับภูมิทัศน์การแข่งขันในปัจจุบันที่แตกต่างจากในอดีตซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่อินเตอร์เน็ต (Internet)

โลกาภิวัฒน์ (Globaloization) , การบริหารความรู้ (Knowledge management) และความร่วมมือกันข้ามพรมแดนภายในและระหว่างองค์กร(Collaboration across "boundaries")

 

1.อินเตอร์เน็ต (Internet)

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อโลกแห่งการบริหาร  อินเตอร์เน็ตถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความมั่นคงให้แก่ธุรกิจ เป็นเครื่องมืออันทรงพลังสำหรับการปรับปรุงการบริหาร และเป็นองค์ประกอบหนึ่งในปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการบริหาร ดังนั้นนักบริหารจะต้องพึงใส่ใจพิจารณา ควบคู่ไปกับการตัดสินใจ และการปฏิบัติต่างๆ

2.โลกาภิวัฒน์ (Globaloization)

โลกาภิวัตน์ คือกระบวนการในการสร้างหรือก่อให้เกิดอิทธิพล ให้แพร่ขยายไปทั่วโลกให้ไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นบ่อเกิดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ขยายกว้างขวางมากยิ่งขึ้นไปทั่วโลก เช่น การทำFTA  ของไทยกับจีน ทำให้หัวหอมราคาถูกทะลักเข้าไทย เกษตรกรเดือดร้อนแต่ คนไทยได้บริโภคหัวหอมราคาถูก เป็นต้น กระบวนการโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบทั้งเชิงบวก และ เชิงลบ จึงเป็นสิ่งที่นักบริหารต้องพึงใส่ใจพิจารณา

3.การบริหารความรู้ (Knowledge management)

ในปัจจุบันการบริหารที่มีประสิทธิภาพ จะให้ความสำคัญกับทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นพลังสมองร่วมขององค์การ นักบริหารต้องสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของการทำงานเพื่อดึงดูดบุคลากรที่ดี ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับองค์การ และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเหล่านี้ อันจะนำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีกำไร

4.ความร่วมมือกันข้ามพรมแดนภายในและระหว่างองค์กร(Collaboration across "boundaries")

หมายถึง การที่บุคคลากรในส่วนต่างๆ ขององค์การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง อีกทั้งหมายรวมถึงความร่วมมือระหว่างองค์กร การควบรวมกิจการ คู่แข่งผนึกกำลังกันเพื่อร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน

 

นอกจากนั้น ศ.กฤษ เพิ่มทันจิตต์ ได้เสนอองค์ประกอบอื่นๆเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

1.ภูมิทัศน์การเมืองการบริหารใหม่ : ทุนซื้ออำนาจรัฐ

หมายถึงการที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามายึดอำนาจรัฐ แล้วนำไปสู่ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางธุรกิจเหนือคู่แข่ง

2.การทับซ้อนของผลประโยชน์ (Conflict of interest)

การที่นายทุนซื้ออำนาจรัฐ เป็นบ่อเกิดแห่งการทับซ้อนของผลประโยชน์ นอกจากจะส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมโดยรวม และความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังทำให้กลไกตลาดไม่ทำงานอีกด้วย

 

สรุป

สาระสำคัญของการบริหารยุคใหม่ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ หมายถึง การบริหาภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ คืออินเตอร์เน็ต (Internet)

โลกาภิวัฒน์ (Globaloization) , การบริหารความรู้ (Knowledge management) และความร่วมมือกันข้ามพรมแดนภายในและระหว่างองค์กร(Collaboration across "boundaries")

รวมทั้งที่ ศ.กฤษ ได้นำเสนอเพิ่มเติมคือ ภูมิทัศน์การเมืองการบริหารใหม่ : ทุนซื้ออำนาจรัฐ และ การทับซ้อนของผลประโยชน์ (Conflict of interest)

 

 

คำถามที่ 2.วินิจฉัยว่า องค์ความรู้ดังกล่าวมีรากฐานมาจากสำนักวิชาอะไร จัดอยู่ในธรรมเนียมปฏิบัติอะไร มีจุดมุ่งหมายเพื่อแปลงความรู้ไปสู่การปฏิบัติประการใด แฝงอุดมการณ์ทางการเมืองอะไร และมุ่งรับใช้ใครเป็นสำคัญ

 

ประเด็นที่ 1 องค์ความรู้ดังกล่าวมีรากฐานมาจากสำนักวิชาอะไร

ตามนัยแห่งความคิดของ John Friedman อาจสรุปได้ว่าองค์ความรู้ดังกล่าวมีรากฐานจากสำนักความคิดดังต่อไปนี้

1.การวิเคราะห์ระบบ (System analysis)

2.เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิคและนโยบายศาสตร์ (Neo – Classical Economics and Policy Science)

3.วิทยาการจัดการและการพัฒนาองค์การ (Scientific Management and Organization Development)

ประเด็นที่ 2 จัดอยู่ในธรรมเนียมปฏิบัติอะไร

1.สำนักความคิด การวิเคราะห์ระบบ (System analysis) และ สำนักความคิด เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิคและนโยบายศาสตร์ (Neo – Classical Economics and Policy Science) จัดอยู่ในธรรมเนียมปฏิบัติ กระแสร์ การวิเคราะห์นโยบาย (Policy analysis)

2. สำนักความคิด วิทยาการจัดการและการพัฒนาองค์การ (Scientific Management and Organization Development)จัดอยู่ในธรรมเนียมปฏิบัติ กระแสร์  การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning)

ประเด็นที่ 3 มีจุดมุ่งหมายเพื่อแปลงความรู้ไปสู่การปฏิบัติประการใด

องค์ความรู้ดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายในการแปลงความรู้ไปสู่การชี้นำสังคม (Social Guidance) และการเปลี่ยนแปลงสังคม (การเปลี่ยนแปลงคนในองค์กร) (Social Transformation) ถึงความมีอยู่ ความดี และประสิทธิภาพของทุนนิยม ทำให้ระบบทุนนิยมก้าวไปสู่ความก้าวหน้าและความเจริญเติบโตทางวัตถุว

ประเด็นที่ 4 แฝงอุดมการณ์ทางการเมืองอะไร

องค์ความรู้ดังกล่าวแฝงคุณค่าทางสังคมหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งไปสู่การยืนยันสถานภาพเดิม และนำไปสู่การผลิตซ้ำระบบทุนนิยม ก่อให้เกิดความก้าวหน้าด้านวัตถุ แต่ก่อให้เกิดผลลบ อย่างมากมายมหาศาลเช่น ความอยุติธรรมทางสังคม การคอรัปชั่น ความไร้เสถียรภพ ฯลฯ

ประเด็นที่ 5 มุ่งรับใช้ใครเป็นสำคัญ

มุ่งรับใช้ กลุ่มทุน และ อำนาจรัฐ เป็นสำคัญ

 

คำถามที่ 3. วินิจฉัยว่า จุดมุ่งหมายขององค์ความรู้ดังกล่าวเป็นไปตามคำกล่าวของ เป็งกิสข่าน หรือไม่ ถ้านักศึกษามีข้อวินิจฉัยว่า เป็น ก็ให้เสนอเหตุผลประกอบ ถ้าวินิจฉัยว่า ไม่เป็น ก็ให้เสนอเหตุผลและความคิดเชิงแย้ง

 

องค์ความรู้ดังกล่าว เป็น ไปตามคำกล่าวของเป็งกิสข่าน กล่าวคือ "ทฤษฏีการบริหารต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ชนชั้นเช่นกัน" โดยที่นักวิชาการเหล่านี้มุ่งนำเสนอผลงานของตนกับผู้ที่ดำรงอยู่ในอำนาจ และพิจารณาพันธกิจหลักของตนเพื่อรับใช้รัฐนั่นเอง ดังนั้นเมื่อ่านี้ถูกนำไปใช้เพื่อแสวงหากำไรและสร้างความมั่งคั่งให้กลุ่มททฤษฎีทางการบริหารเหล่านี้ถูกนำไปใช้ก็เพื่อแสวงหากำไรและสร้างความมั่งคั่งให้กลุ่มทุน เป็นการตอกย้ำเสริมแรงและผลิตซ้ำระบบทุนนิยม

 

คำถามที่ 4.องค์ความรู้ดังกล่าวเหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยหรือไม่ ในบริบทอะไร จะก่อให้เกิดผลลัพธ์อะไร โปรดอธิบายโดยตรรกะแบบ วิภาษวิธี (Dialectic logic)

จากการศึกษาโดยวิธี วิภาษวิธี เริ่มต้นจากการทำความเข้าในองค์ความรู้ดังกล่าวพบว่า  จุดมุ่งหมายสูงสุดคือการแสวงหากำไรสูงสุด ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและวิถีความเป็นอยู่ทางด้านวัตถุของคนอย่างมากมายมหาศาล แต่เมื่อมองอีกด้านหนึ่งพบว่ากลับก่อให้เกิดปัญหาต่างๆอย่างมากมายมหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในยุคไหนเช่นเดียวกัน

ซึ่งสามารถสรุปในบริบทของทุนนิยมคือ องค์ความรู้ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยเพราะจะทำให้เกิดผลลัพธ์ดังนี้

1.ความอยุติธรรมทางสังคม การกระจายรายได้ท่ไม่เท่าเทียมกัน มีหนี้สิน ความยากจน

2.ปัญหาสังคม ความเจ็บป่วยทางสังคม และการขาดความสุข

3.การคอรัปชั่น : การทับซ้อนของผลประโยชน์

4.ความไร้ซึ่งเสถียรภาพ:เศรษฐกิจฟองสบู่

5.ความไร้ความยั่งยืน :    การข่มขืนธรรมชาติ

6.ความไร้ซึ่งสันติสุขและสันติภาพ : สงคราม การก่อการร้าย

 

คำถามที่ 5. มีแนวทางอื่นอีกหรือไม่ที่มีความเหมาะสมกว่าแนวทางการบริหารยุคใหม่โปรดทำเสนอโดยสังเขป

 

แนวทางอื่นที่เหมาะสม คือ แนวทางตามที่ศ.กฤษ ได้สังเคราะห์ไว้ นั่นคือแนวทางบริหารแนวพุทธ โดยนำเอาหลักการและแนวทางบริหารงานจากสังคมตะวันตกมาปรับเปลี่ยนฐานคติ แล้วนำเอาหลักพุทธธรรม อันได้แก่ ทศพิศราชธรรมจริยาทิกถา ระบบไตรสิกขา และมรรคมีองค์แปด มาเป็นคุณค่าและหลักการชี้นำ ซึ่งพอสรุปประเด็นได้ดังนี้

1.หลักการและแนวทางบริหารเพื่อคุณภาพชีวิต

โดยปรับเปลี่ยนหลักการและแนวทางบริหารทีมุ่งเน้นกำไรสูงสุดมาเป็น การแสวงหากำไร ตามหลัก มัชฌิมาปติปทา คือ ความพอดี พอประมาณ ความถูกต้อง เป็นทางสายกลาง

2.การบริหารที่มุ่งบรรลุจุดหมายสูงสุด

ปรับเปลี่ยนความต้องการบรรลุประโยชน์ทันตาเห็น เป็น ประโยชน์ที่มีความมั่นคงเพียงพอทางการบริหาร นำไปสู่ความมีเสถียรภาพเพียงพอทางเศรษฐกิจโดยรวม

3.แนวทางการบริหารแบบบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์

บูรณาการองค์ความรู้ทางการบริหารกับบรรดาองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆที่พึ่งพาต่อกัน และเสริมสร้างกันในการแก้ปัญหาของมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ

 สรุป

แนวทางการบริหารแนวพุทธ เป็นการปรับเปลี่ยนหลักการและแนวทางการบริหารที่มุ่งไปสู่การแสวงหากำไรสูงสุด มาเป็นการแสวงหากำไรแบบพอดีพอประมาณ และนำไปสู่ ภาวะสันติสุขและสันติภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวตอบ 600 การจัดการภาครัฐ no1

 

การปฏิรูประบบราชการไทย(2546-2550) ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

 

1.             ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน จาก 15 กระทรวง เป็น 20 กระทรวง

 

2.   วิธีการทำงาน เช่น ผู้ว่า ซี อี โอ   การจ้างเหมาภายนอก(Outsourcing)

 

2.             ปรับระบบการเงิน เช่น จากบัญชีเงินสดเป็นคงค้าง,เปลี่ยนปีงบประมาณ จาก 1เป็น 3 ปี

 

4. ปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์(คน)ภาครัฐ ("กฎ 80/20 Richard Koch กล่าวไว้ว่า  ความเจริญขององค์การมาจากคนส่วนน้อย ดังนั้นต้องหาพวก 20 ให้เจอ) ในการปฏิรูประบบ HRM ของราชการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

    4.1 บทบาทขององค์กรกลาง  ในการถ่ายโอนอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการ

    4.2 ระบบค่าตอบแทนและให้รางวัล

-  การเพิ่มค่าตอบแทนเช่น เงินเดือนต่ำกว่า7,000 เพิ่มให้ถึง 7,000  7,000 ไม่ถึง10,000 เพิ่มอีก 1,000 บาท/. เพิ่มเงินประจำตำแหน่ง

 -  ระบบการให้รางวัล โบนัสตามผลการประเมิน ***

    4.3 การปรับลดขนาดกำลังคนภาครัฐ(ลด10%,มาตรการ เออรี่ รี ทรัย)

    4.4 ระบบจำแนกตำแหน่ง จากระบบซีจะปรับเป็น ระบบแท่ง (เช่น บริหาร,บริการ,วิชาการ ซึ่งประกาศใช้แล้ว พ.. 2551)

    4.5 การสรรหาและคัดเลือก จะเปลี่ยนจากระบบปิดเป็นระบบเปิด

    4.6 การจัดการผลการปฏิบัติงาน(Performance management)  RBM         G.V             BSC

    4.7 การพัฒนางานอาชีพ(Career Development) เช่น ระบบ ฟาสแทร็ก(เข้าข้าง หรือโตเร็ว)  Dual career path รวมทั้งการเกษียณอายุ 50-70 ปี

 

5.ปรับเปลี่ยนค่านิยม เช่น เป็น LO , ระบบKM , ค่านิยม กพร. 8 ประการได้แก่ เน้นผลสัมฤทธิ์  มุ่งมั่นตั้งใจ 

จริยธรรม  ยึดมั่นความถูกต้อง  เป็นประชาธิปไตย  ทันโลก  รับผิดชอบต่อผลงาน ประสิทธิภาพ

ท่อง (ผล     ตั้งใจ    ธรรม     ถูก     ธิป     ทัน     รับ    ภาพ)

 

6. ความทันสมัย เช่น กระทรวง ICT , การประมูลงานผ่านอิเลคทรอนิค

 

7. ให้ประชาชนมีส่วนร่วม (พรบ.ข้อมูล การเมืองภาค ปชช.) ****

 

ท่อง    ( วิธี     สร้าง    เงิน     คน    นิยม     ร่วม    สมัย )

วิเคราะห์ข้อจำกัดและอุปสรรคของ การปฏิรูประบบราชการ ที่ผ่านมา 2546-2550 ดังนี้

ข้อ1 การปรับเปลี่ยนโครง  สร้างการบริหารราชการแผ่นดิน จาก 15 กระทรวง เป็น 20 กระทรวง

ปัญหาที่พบ เช่นบางหน่วยงานยังไม่มีการปรับยุบ หรือควบรวมตามแนวทางที่ตั้งไว้  ทั้งนี้เนื่องจากถูกแทรกแซงจากระบบการเมืองในการต้องการฐานอำนาจทางการเมืองไว้  นอกจากนี้การปรับโดยไม่พิจารณารายละเอียดถึงผลเสียหายทำให้เกิดความลำบากแก่ประชาชน เช่น หน่วยงานกรมประชาสงเคราะห์อำเภอ เดิมอยู่ในส่วนอำเภอของแต่ละอำเภอ แต่จากการปรับครั้งนี้ทำให้ไปยุบรวมกันอยู่ที่จังหวัด  กรณีตัวอย่างปัญหาเช่น หากต้องการทำบัตรผู้พิการต้องไปติดต่อทำบัตรฯที่จังหวัดเป็นต้น

 

ข้อ2  วิธีการทำงาน เช่น แบบผู้ว่า ซี อี โอ  การทำงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ เป็นต้น

ปัญหาที่พบ  ผู้ว่าซีอีโอในหลักการถือว่าดีแต่ในทางปฏิบัติพบว่าหน่วยงานของส่วนราชการที่ไม่อยู่ใต้สังกัดโดยตรงยังไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากยังมีสายบังคับบัญชาต้นสังกัดอยู่ทำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพ  นอกจากนี้ผู้ว่าบางแห่งก็ทำงานเพื่อสนองตอบทางการเมืองเพียงอย่างเดียว เช่นไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง โน้มน้าวหรือให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการที่ไม่สนองตอบแก่ฝ่ายการเมืองที่ตนฝักไฝ่   นอกจากนี้ในการทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้น การสร้างวัฒนธรรมดังกล่าวแก่ข้าราชการยังเป็นไปอย่างล่าช้า  ประกอบกับผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานเบื้องบนก็เน้นการสั่งการหรือเน้นแผนงานโครงการจากบนสู่ล่าง(Top down) มากกว่าจะให้ข้าราชการวิเคราะห์และแก้ปัญหาจากสภาพของแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

 

ข้อ4 ปฏิรูประบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์(คน)

     ระบบการให้รางวัล โบนัสตามผลการประเมิน  ไม่มีระบบที่ชัดเจนในการประเมิน  หน่วยงานจึงนำเอา

เงินมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคน ไม่สามารถทำให้เกิดแรงจูงใจใดๆ  บางหน่วยงานได้โบนัส ปีละ 1500-1900 บาท ต่อคน เป็นต้น  นอกจากนี้การปรับลดขนาดกำลังคนภาครัฐ วางระบบการให้ลาออกไม่ดีพอจึงทำให้คนเก่ง คนดี(Knowledge Worker) ลาออก เป็นจำนวนมาก

 

ข้อ5 ปรับเปลี่ยนค่านิยม เช่น เป็น LO , ระบบKM , ค่านิยม กพร. 8 ประการ ยังเป็นไปอย่างเชื่องช้าและไม่เห็นผลในทางปฏิบัติ  ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมของระบบราชการที่ฝังลึกมานาน จึงต้องใช้เวลาในการแก้ไข

 

ข้อ6  ความทันสมัย เช่น การคลังแบบ GFMIS , การประมูลงานผ่านอิเลคทรอนิค (อี  อ๊อคชั่น)

ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่และประชาชนยังขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้งานในระบบปฏิบัติการต่างๆ

ข้อ7  ให้ประชาชนมีส่วนร่วม (พรบ.ข้อมูล การเมืองภาค ปชช.)  ยังมีปัญหาปัญหาเรื่องการปกปิดข้อมูลเช่น การประกาศประมูลงาน  ประกวดราคา เป็นต้น

หมายเหตุ สำหรับ พรบ.ใหม่ 2551 ที่ประกาศใช้แล้ว  ให้ดูที่ส่งมาให้ก่อนนี้แล้วในกลุ่มที่ 2 น่ะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวตอบ 782การวิเคราะห์การเงินและงบประมาณ  .มนตรี no1

 

 

 

 

 


1.Capital budgeting.(โครงการต่างๆ)

2.Investment. (ตราสารทางการเงิน)

3.M&A(รวมหรือควบ)

1.Debt financing(ระดมทุนโดยการก่อหนี้)

2.Equity financing(ระดมทุนโดยออกตราสารทุน)

 

ภายในประเทศ

 

      ต่างประเทศ                                                                     Financial analysis

        

          ในการดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาเงินและแหล่งที่มาของเงิน (Source of fund) ซึ่งแหล่งที่มาของเงินสามารถจำแนกเป็นเงินของเจ้าของเราเรียกว่า "ส่วนทุน" (Equity) กับเงินยืมเรียกว่า "ส่วนหนี้สิน" (Liabilities) จากนั้นก็นำเงินไปทำธุรกิจ (Use of fund) 

 

1.      การระดมทุนหรือแหล่งที่มาของเงิน (Source of fund) ได้มาจาก

- ออกตราสารทุน เพื่อระดมเงินให้ได้ตามที่ต้องการ  โดยผ่านกลไกตลาดเงินและตลาดทุน

- การก่อหนี้โดยเครื่องมือทางการเงินเรียก ตราสารหนี้

สรุป การระดมเงินถ้ากิจการหรือโครงการไม่ใหญ่โตมาก อาจทำได้โดยการระดมจากภายในประเทศ

โดยขายหุ้นให้กับประชาชน   เมื่อกิจการใหญ่ขึ้น เงินภายในประเทศมีไม่พอ ก็ต้องขายหุ้นให้กับต่างประเทศ

สำหรับการกู้เงิน อาจทำได้ภายในประเทศถ้าโครงการมีขนาดไม่ใหญ่ ถ้าต้องการเงินจำนวนมากๆ ก็จำเป็นต้องกู้จากต่างประเทศ

2.  การใช้เงิน  เมื่อได้เงินมาแล้วก็จะนำไปลงทุนโดยจำแนกเป็น

              - ลงทุนในโครงการใหม่ เช่น ขยายโรงงาน  ตั้งโรงงานใหม่หรือโครงการลงทุนใหม่เพื่อเพิ่มรายได้

              - ลงทุนในตราสารทางการเงินเช่น ลงทุนในหลักทรัพย์  หุ้นสามัญ  หุ้นกู้ เป็นต้น ภายใต้ โดยการบริหารความเสี่ยงให้ต่ำที่สุดและผลตอบแทนสูงสุด

                 - การควบและรวมกิจการ  เพื่อการขยายตัวของกิจการโดยทางลัด  จะนำมาซึ่งยอดขายและกำไรที่เพิ่มขึ้น

          สรุป  ถ้าลงทุนในประเทศจะอยู่ในกรอบใน แต่บางบริษัทอาจต้องไปลงทุนในต่างประเทศที่เศรษฐกิจ

ดีกว่า เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ (Investment) ถ้าลงทุนภายในประเทศจะอยู่กรอบเส้นใน ถ้าเห็นว่าตลาดหุ้นภายในผันผวนมาก มีความเสี่ยงสูง ก็อาจหนีไปลงทุนในวงนอกคือภายนอกประเทศที่มีความมั่นคงกว่า สำหรับการควบกิจการก็เช่นเดียวกัน อาจควบกิจการภายในประเทศ หรือต่างประเทศ สำหรับต่างประเทศอาจจะมีปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น  เศรษฐกิจระหว่างประเทศ   วัฒนธรรม อัตราแลกเปลี่ยน  เป็นต้น

    เส้นวงกลมทั้งสองตามรูปจะอยู่ล้อมรอบตัวเราอยู่เสมอ แต่ในอนาคตเส้นจะค่อยๆ หายไปเพราะเปิดการค้าเสรี เปิดเสรีทางการเงิน เปิดเสรีด้านบริการ สุดท้ายวงกลมสองวงจะกลายเป็นวงเดียวกัน

 

3.   การบันทึกงบดุล  หลังจากเรานำเงินไปลงทุนในด้านต่างๆแล้ว ผลที่ได้จะถูกบันทึกในรูปของงบดุล ณ.วันที่ทำการปิดงบ ดังนี้

        

สินทรัพย์ (Assets)

หนี้สิน(Liabilities)และทุน(Equity)

สินทรัพย์หมุนเวียน(Current Assets)

  - เงินสด

  - ลูกหนี้การค้า

  - สินค้าคงคลัง

1. หนี้สินหมุนเวียน(Current  Liabilities)

- เจ้าหนี้การค้า

  - หนี้สินระยะสั้น

2. หนี้สินระยะยาว(Long Term Liabilities)

 

สินทรัพย์ถาวร(Fix Assets)

  -  ตึก

  - ที่ดิน

  - อุปกรณ์  เครื่องจักร

  - สิทธิบัตร ,สัมปทาน

ทุน(Equity)

 - หุ้นบุริมสิทธิ์

 - หุ้นสามัญ

 

หมายเหตุ งบดุลจะต้อง เท่ากันทั้งสองด้าน เสมอ  แนวคิดหลักที่สำคัญคือต้องทำให้ด้านหนี้สินและทุนต่ำสุด  ด้านสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

        

อธิบายเพิ่มเติมจากรูป Balance sheet 

 

หนี้ (Liability) หรือ Debt financing การก่อหนี้อาจทำได้ 3 แบบ คือ

         1. ก่อหนี้ในระบบ เช่น การกู้จากสถาบันการเงิน

         2. ก่อหนี้นอกระบบ เช่น กู้จากบุคคลทั่วไป

         3. การออกตราสารหนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ

             3.1 พันธบัตรรัฐบาล (Government bond)

             3.2 หุ้นกู้ (Corporate bond) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

                 3.2.1 หุ้นกู้ธรรมดา

                 3.2.2 หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ มีสิทธิ์น้อยกว่าหุ้นกู้ธรรมดา

 

ข้อสังเกต 

         1. รายได้เกิดจากการดำเนินกิจการด้านซ้ายของ Balance sheet (A ทำให้เกิดรายได้

         2. ดอกเบี้ย จะจ่ายให้กับส่วนของเงินกู้ (L)

         3. เงินปันผล(Dividend) จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น (E) 

         4. ถ้าต้องการกำไรมากขึ้น จะต้องดูแลเกี่ยวกับ  ค่าใช้จ่ายต้นทุนสินค้า  การจัดการ  ดอกเบี้ย แหล่งเงินทุนที่ถูก  ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อได้ยกเว้นภาษี  ทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อจะได้ลดหย่อนภาษี  เป็นต้น

         จากงบดุลและงบกำไรขาดทุน จะทำให้สามารถมองได้ว่ากิจการนั้นมีลักษณะอย่างไร ดี
หรือไม่ มีศักยภาพเพียงใด มีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไร มีความต้องการช่วยเหลือที่จุดใด

        

ประโยชน์ที่ได้รับในการวิเคราะห์สถานะทางการเงิน

         1. ทำให้รู้จักตัวเราเองมากขึ้น

         2. รู้คู่แข่งขันมากขึ้น

         3. ใช้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์การลงทุน (Fundamental analysis)

         4. ใช้เป็นประโยชน์ในการควบและรวมกิจการ มีการทำ Due diligence โดยวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงิน เพื่อให้เห็นข้อมูลภายในทั้งหมด ข้อมูลเหล่านี้ห้ามเปิดเผยแก่ผู้อื่น

ไม่แน่นอน

 
         5. ใช้ในการวางแผนบริษัท โดยเฉพาะแผนการเงิน

         6. ใช้ประโยชน์ในการประเมินผลงาน ของผู้บริหาร

 

 

 

 

ข้อสอบข้อที่ 2 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ  (ไม่มีคำนวน)

        

         ในการการวิเคราะห์ทางการเงินจะคำนวนอัตราส่วนทางการเงินหลักๆ เช่นอัตราส่วนหนี้สิน  สัดส่วนกำไร เพื่อวัดการดำเนินงานของบริษัทและตอบคำถามในการตัดสินใจของผู้บริหาร  นอกจากนี้อัตราส่วนดังกล่าวยังจะกระตุ้นให้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับจุดที่เป็นปัญหาของบริษัท อีกด้วย  สำหรับอัตราส่วนทางการเงินที่นิยมใช้วัดประสิทธิภาพและความสามารถของธุรกิจ 3 ด้าน (จริงๆมี4 แต่ที่ผ่านมาไม่มีออกเลยและตัวที่ไม่ได้กล่าว ณ.ที่นี้เป็นเชิงรายละเอียดเกินไปและไม่สำคัญ จึงขอเสนอหลักเพียง 3 ตัวนี้เท่านั้น) คือ

 

         1. ความสามารถในการทำกำไร 

             1.1 Return on total asset (ROTAผลตอบแทนจากสินทรัพย์

                                          ดี

             ผลลัพธ์ที่ได้ค่าต้องสูงกว่า ค่ามาตรฐาน "Benchmark" ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของ อุตสาหกรรมเดียวกัน 

             1.2 Return on equity (ROE) ผลตอบแทนจากเงินลงทุน

                                                        ดี

             ผลลัพธ์ที่ได้ต้องสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล

 

             1.3 Earning per share (EPS) กำไรต่อหุ้น ยิ่งสูงยิ่งดีโดยเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเดียวกัน 

 

                                         ดี

             1.4 Dividend per share เงินปันผลต่อหุ้นยิ่งสูงยิ่งดีโดยเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเดียวกัน 

                                        ดี

             ในกิจการทั่วไปเงินปันผลต่อหุ้นจะจ่ายเพียง ร้อยละ 60 ของกำไรหลังหักภาษีเท่านั้น และเก็บไว้ขยายกิจการร้อยละ 40

                

         2. ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน (Activity ratio) สินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญคือ ลูกหนี้การค้า (Account receivable)  กับ  Inventory(สินค้าคงเหลือลูกหนี้การค้าถ้าน้อยยิ่งดี 

สินค้าคงเหลือยิ่งน้อยยิ่งดี  จะบริหารยอดขายได้อย่างไร โดยการแยกออกเป็นสองส่วน คือ

         2.1 Operating margin  หมายถึงกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ต่อยอดขาย (ยิ่งสูงยิ่งดี) 

 

                             = Operating margin  

            

         2.2 Asset turnover หมายถึง สินทรัพย์ที่มีอยู่ทำให้เกิดยอดขายมากเพียงใด ยอดขายที่ได้มาเกิดจากการหมุนสินทรัพย์ไปกี่รอบ

         ถ้าต้องการ ROTA มาก และ  จะต้องสูงทั้งคู่ แต่ในความ
เป็นจริงกิจการที่ทั้งสองตัวสูงไปด้วยกันนั้นจะไม่มี แต่สิ่งที่พบคือ ถ้าตัวใดสูงอีกตัวหนึ่งจะต่ำเช่น ธุรกิจ Supermarket ตัว Operating margin จะต่ำ ขณะที่ Asset turnover จะสูง เนื่องจากSupermarket ขายสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งต้องซื้อทุกวัน ยอดขายสูงเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ แต่Operating Margin จะต่ำ ธุรกิจเครื่องสำอาง คนจะซื้อเครื่องสำอางไม่บ่อย ผู้ขายจึงต้องเอาMargin สูง และ Asset turnover ต่ำ 

              EBIT = รายได้ – ต้นทุนสินค้า – ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 

         ดังนั้น เมื่อต้องการให้ สูง จะต้องดูแลต้นทุนและค่าใช้จ่าย

         ต้นทุน จะประกอบด้วย วัตถุดิบแรงงาน, Overhead ในโรงาน, Administrative cost
ถ้าสามารถควบคุมทั้ง 4 สิ่งได้ EBIT จะสูงขึ้น ในการดูแลทำได้โดย

          

 

3. ความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage ratio) มีตัวชี้วัด 3 ตัว คือ

             3.1 Debt equity ratio 

                 Debt equity ratio = 

             เมื่อ   TL = Total liability หรือหนี้

                      E = Equity หรือ ทุน

             หนี้สินเมื่อเทียบกับทุนสูงสุด ไม่ควรเกิน 1 หมายถึงถ้ามีทุนจดทะเบียนอยู่ จำนวน10 ล้านบาท หนี้ก็ไม่ควรเกิน 10 ล้านบาท

             3.2 Debt total asset ratio (หนี้ต่อสินทรัพย์)

                 Debt total asset ratio = 

             เมื่อ  TL = Total liability (หนี้ทั้งหมด)

                    TA = Total asset (สินทรัพย์ทั้งหมด)

             มีค่ายิ่งน้อยยิ่งดี อย่าให้หนี้มากกว่าสินทรัพย์ (ไม่ควรเกิน 1)

             3.3 Time interest earn (TIE) ความสามารถในการดูแลเรื่องดอกเบี้ย

                             TIE = 

             EBIT = Earning before interest and tax (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี)

             ยิ่งสูงยิ่งดี ต้องมีค่ามากกว่า 1 ถ้าน้อยกว่า 1 แสดงว่าไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้

 

         4. ความสามารถในการบริหารสภาพคล่องของกิจการ (Liquidity rated)

             4.1 Current ratio  ควรมีค่ามากกว่า 1 หมายถึง เมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่าย OD ธนาคารหรือถึงเวลาจ่ายเงินให้เจ้าหนี้การค้า กิจการมีเงินสด ลูกหนี้การค้า และสินค้ามากพอที่จะจ่ายให้ได้

             4.2 Quick ratio สภาพคล่องสูง ถ้ามากกว่า 1 แสดงว่า มีสภาพคล่อง(แต่ในทางธุรกิจ หากมากไปจะมีต้นทุนค่าเสียโอกาส  และภาระดอกเบี้ยหากกิจการมีการกู้   ดังนั้นหากมีมากไป  ไม่ได้ผลิตเพิ่มและมีเงินสดเหลือมากควรพิจารณาชำระเงินกู้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย)

                5. Growth ratio แบ่งออกเป็น 5 ตัวย่อย คือ

             5.1 ยอดขาย 

             5.2 กำไร (Earning)

             5.3 กำไรต่อหุ้น (Earning per share)

             5.4 เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend per share)

             5.5  ratio หมายถึง ถ้า  สูง ราคาของหุ้นจะสูงด้วย แต่ราคาหุ้นจะขึ้นอยู่กับ E หรือผล
ประกอบการ ดังนั้น ถ้า Ratio สูง ราคาหุ้นก็จะสูง และถ้า Earning สูง ราคาหุ้นจะยิ่งสูง ในตลาดหุ้นที่มีความสมบูรณ์ราคาหุ้นจะสะท้อนถึงผลประกอบการที่คาดหวัง ที่เป็นมาก่อน และบ่งชี้ถึงอนาคต เมื่อ  ratio มีการปรับตัวสูงขึ้น ย่อมหมายถึงราคาหุ้นจะสูงขึ้นด้วย ในฐานะผู้ถือหุ้นจะต้องการให้หุ้นมีราคาสูงขึ้น เพื่อจะได้ประโยชน์จากส่วนเกินของราคา par แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่ลงทุนซื้อจะต้องการราคาหุ้นต่ำ ในการลงทุนเราจึงต้องการหุ้นที่ มี PE ratio ต่ำๆเพราะซื้อมาถูกอาจขายได้แพง เช่นปัจจุบันนี้ค่าเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 12 แต่ของประเทศเวีตนามอยู่ที่ประมาณ 80 ซึ่งถือว่าสูง ของไทยจึงถือว่าถูกน่าซื้อ

 

 

 

 

 

 

 

ข้อสอบข้อ3 การลงทุนในตราสารทางการเงิน (Investment) เล่นหุ้น

              

         การลงทุนในตราสารทางการเงินเป็นการลงทุนทางอ้อม โดยจะพิจารณาถึงความเสี่ยงและผลตอบแทน 

โดยปกติถ้าความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนจะสูงและถ้าความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนจะต่ำ แต่สิ่งที่เราต้องการคือต้องการความเสี่ยงต่ำแต่มีผลตอบแทนสูง จึงได้เกิดมีทฤษฎีการลงทุนขึ้นมา 2 ทฤษฎีคือทฤษฎี CAPM และAPT    ทั้ง 2 ทฤษฎีนี้ จะช่วยในการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงของธุรกิจ โดยการยำหลักทรัพย์ทั้งหลายมาผสมผสานกัน เพื่อการกระจายความเสี่ยง เป็นการบริหารเงินให้ได้ประโยชน์สูงสุดภายใต้ความเสี่ยงน้อยที่สุด

         ความเสี่ยง คือความไม่แน่นอน จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

         1. Unique risk คือความเสี่ยงเฉพาะตัวขององค์การ บางทีเรียกว่า Unsystematic riskแต่ละกิจการจะมีความเสี่ยงเฉพาะตัว ซึ่งอาจเหมือนหรือไม่เหมือนกับกิจการอื่น เป็นความเสี่ยงภายใน เช่น บริษัท มีความเสี่ยงเรื่องการเงิน การจัดการ บริษัท มีความเสี่ยงเรื่องบุคลากร และการเงิน จะใช้ทฤษฎี CAPM 

 

     2. Systematic risk หรือ Market risk เป็นความเสี่ยงที่อยู่ภายนอกบริษัท เป็นปัจจัยภายนอกในเชิง

มหภาค เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้บริษัทที่อยู่ในประเทศเดียวกันจะประสบเหมือนกัน จะใช้ทฤษฎี APT 

 

ในการประยุกต์ใช้ทั้ง 2 ทฤษฎีเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน(ในตลาดหลักทรัพย์) โดยทั่วไปจะใช้วิธี

 

1. Top-down Analysis ใช้APT ก่อนมองภาพใหญ่เลือกกลุ่มธุรกิจที่มีผลกระทบทางบวกมากที่สุด แล้วจึงใช้CAPM เลือกหุ้นในกลุ่มนั้นออกมาโดย(Bรวมเท่ากับตลาด คือ1 และหุ้นแต่ละตัวมีความสัมพันธ์กันเพียง 50%หรือ r=.5)

2. Fundamental Analysis พิจารณาว่าแต่ละบริษัทมีปัจจัยพื้นฐาน  โดยพิจารณาจากงบการเงิน  งบดุลและงบกำไรขาดทุนของกิจการ รวมทั้งการเยี่ยมชมบริษัท  หากสามารถทำได้  ทั้งนี้เพื่อพิจารณาความสามารถของผู้บริหารหรือแผนการลงทุนต่างๆให้เกิดความมั่นใจในการเลือกลงทุนในบริษัท ที่เราสนใจ  

3. Technical Analysisบอกให้รู้ว่าควรซื้อเวลาใด ตลาดมีแนวโน้มอย่างไร รอซื้อตอนราคาถูก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ไม่มีความคิดเห็น: