17 กุมภาพันธ์ 2552

1.โครงสร้างใดของเซลล์ที่ทำหน้าที่เสมือนรั้วบ้าน

1.โครงสร้างใดของเซลล์ที่ทำหน้าที่เสมือนรั้วบ้าน
1.ผนังเซลล์
2.ไซโทพลาสซึม
3.นิวเคลียส
4.เยื่อหุ้มเซลล์
2.ข้อใดต่อไปนี้ไม่มีในเซลล์สัตว์
1.นิวเคลียส
2.เยื่อหุ้มเซลล์
3.ไซโทพลาสซึม
4.คลอโรพลาส
3.พืชใช้ส่วนใดในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุเพื่อลำเลียงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช
1.ราก
2.ท่อลำเลียงน้ำ
3.ขนราก
4.ใบ
4.ออสโมซิส คืออะไร
1.การแพร่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อย
2.การแพร่ของน้ำผ่านตัวกลางจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมาก
3.การแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อยไปยังบริเวณที่มีความเข้นของน้ำมากกว่า
4.การแพร่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมาก ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยกว่า
5.ถ้านำถุงกระดาษแก้วใสบรรจุสารละลายคอปเปอร์ซันเฟตเข้มข้น 10% จุ่มลงในบิกเกอร์ที่มีสารละลายคอปเปอร์ซันเฟตเข้มข้น 20% ทิศทางการแพร่ของคอปเปอร์ซันเฟตจเป็นอย่างไร
1.สารละลายแพร่จากบิกเกอร์เข้าสู่กระดาษแก้ว
2.น้ำจะแพร่จากบิกเกอร์เข้าสู่กระดาษแก้ว
3.สารละลายจะแพร่ออกจากกระดาษแก้ว
4.สารละลายไม่มีการเคลื่อนที่
6.จากข้อที่ 5 นักเรียนคิดว่าอะไรเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอย่างนั้น
1.ความดัน
2.ความเข้มข้นของสารละลาย
3.ความหนาแน่น
4.ยังสรุปไม่ได้
7.พิจารณาสมการต่อไปนี้
12H2O + 6CO2
C6H12O6 + 6H2O + 6O2

จากสมการข้างต้น X คืออะไร
1.ก๊าซออกซิเจน(O2)
2.แสง
3.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)
4.ก๊าซไนโตรเจน(N2)
8.ข้อใด้ชเป็นปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้พืชตอบสนองตาอสิ่งเร้า
1.แสง
2.น้ำ
3.อากาศ
4.ทุกข้อที่กล่าวมา
9.การปฏิสนธิของพืช ข้อใดเป็นพาหะที่ได้มาจากธรรมชาติ
1.ลม
2.ผีเสื้อ
3.มนุษย์
4.ทุกข้อที่กล่าวมา
10.นักเรียนจะช่วยอนุรักษณ์ต้นไม้ได้อย่างไรบ้าง
1.ปลูกป่า ทดแทนป่าไม้ที่สูญเสียไป
2.ปลูกต้นไม่ริมทางเพื่อให้พืชดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มออกซิเจนให้กับเรา
3.หากพบเห็นผู้บุกรุกป่าสงวน ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามกฏหมาย
4.ทุกข้อที่กล่าวมา
1.สารหมายถึงอะไร
1.อนุภาคที่มีขนาดเล็ก แบ่งแยกไม่ได้
2.เนื้อของสารซึง่มีมวลและสัมผัสได้
3.ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ
4.อนุภาคที่เรียกว่าอะตอม
2.ข้อใดคือ สารประกอบ
1.Ca
2.H2O
3.C
4.H
3.ธาตุ คืออะไร
1.สารบริสุทธิ์ที่เกิดการจาการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
2.สารประกอบทั่วไป เช่น น้ำ ก๊าซออกซิเจน ฯลฯ
3.สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาค เรียกว่า อะตอม
4.ของผสมที่เป็นเนื้อเดียว
4.การแยกสารทำได้โดยวิธีใดบ้าง
1.การกรอง
2.การกลั่น
3.การระเหย
4.ทุกข้อที่กล่าวมา
5.ต๋อย ทำผงถ่านตกลงในข้าวสารที่บ้าน ต๋อยจะมีวิธีแยกถ่านออกจากข้าวสารโดยวิธีใด
1.การกรอง
2.การกลั่น
3.การระเหย
4.การตกผลึก
6.ข้อใดคือ ความหมายของสารละลาย
1.ของผสมที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
2.ของผสมที่เห็นเป็นเนื้อเดียวประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย
3.สารบริสุทธิ์ที่เกิดกจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
4.สารบริสุทธิ์ที่เกิดจาการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน

7.น้ำอัดลม มีอะไรเป็นตัวทำละลาย
1.น้ำ
2.ออกซิเจน
3.คาร์บอนไดออกไซด์
4.ไนโตรเจน
8.น้ำอัดลมเกิดจากน้ำตาล 100 cm3 , คาร์บอนไดออกไซด์ 120 cm3 กับน้ำ 500 cm3 และสารที่ทำให้เกิดสีและกลิ่นอีก 80 cm3 น้ำมีความเข้มข้นกี่เปอร์เซนต์ โดยปริมาตรต่อปริมาตร
1. 10
2. 30
3. 50
4. 70
9.ปรีชานำสารชนิดหนึ่งมาทดสอบหาค่าความเป็นกรดเบส-ด้วยอินดิเคเตอร์ ปรากฏว่า สีของกระดาษ pH ไม่เปลี่ยนสี แสดงว่าสารละลาย ดังกล่าวมีสมบัติเป็นอย่างไร
1.กรด
2.เบส
3.กลาง
4.บอกไม่ได้
10.ข้อใดเป็นหลักการใช้สารที่ถูกต้อง
1.ศึกษาคุณสมบัติของสารนั้น ๆ ก่อนนำมาใช้
2.ปฏิบัติตามคำอธิบายวิธีใช้สารที่อยู่ในฉลาก อย่างเคร่งครัด
3.พิจารณาถึงคุณภาพของสาร
4.ทุกข้อที่กล่าวมา
1.เมื่อเราเป่าลูกโป่งให้พองเต็มทีแล้วปล่อยลมออกจากลูกโป่ง การเคลื่อนที่ของลูกโป่งในข้อใด
ถูกต้องที่สุด
1.ตรงข้ามกับทิศทางลม
2.ไปในทิศทางเดียวกันกับลม
3.หมุนวน
4.พุ่งไปข้างหน้าแล้วย้อนกลับมาข้างหลัง
2.จากคำตอบข้อที่ 1 การเคลื่อนที่ของลูกโป่งสอดคล้องกับกฏการเคลื่อนที่ของวัตถุของนิวตันข้อใด
1.วัตถุจะคงสภาพอยู่นิ่ง หรือสภาพเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวในแนวตรง นอกจากจะมีแรงลัพธ์ ซึ่งไม่มีค่าเป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุนั้น
2.เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งขนาดไม่เป็นศูนย์ มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้เกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ และขนาดของความเร่ง จะแปลผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ และจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ
3.ทุกแรงกิริยา (Acction Force) จะต้องมีแรงปฏิกิริยา (Reaction Force) ที่มีขนาดเท่ากันและทิศทางตรงกันข้ามเสมอ
4.สรุปไม่ได้
3.เมื่อออกแรงดึงวัตถุทางซ้าย 30 นิวตัน ออกแรงดึงทางขวา 20 นิวตัน วัตถุจะเคลื่อนที่ไปทางใด ด้วยแรงขนาดเท่าใด
1.ทางขวา ด้วยแรง 20 นิวตัน
2.ทางขวา ด้วยแรง 10 นิวตัน
3.ทางซ้าย ด้วยแรง 30 นิวตัน
4.ทางซ้าย ด้วยแรง 10 นิวตัน
4. พิจารณารูปภาพต่อไปนี้

จากภาพข้างต้น นักเรียนคิดการอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุข้อใดถูกต้องที่สุด
1.วัตถุจะเคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยแรง 10 นิวตัน
2.วัตถุจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยแรง 20 นิวตัน
3.วัตถุจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายด้วยแรง 30 นิวตัน
4.วัตถุไม่มีการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่
5.วัตถุมวล 20 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นราบที่มีค่าของสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างวัตถุกับพื้นเท่ากับ 0.4 จะต้องออกแรงตามแนวราบอย่างน้อยกี่นิวตันจึงจะทำให้วัตถุเริ่มเคลื่อนที่ (กำหนดให้ค่า g=10m/s2)
1. 40
2. 80
3. 160
4. 190
6.จะต้องออกแรงเท่าใด จึงจะทำให้วัตถุมวล 12 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 3 เมตรต่อวินาที2 (กำหนดให้ค่า g= 10 m/s2)
1. 4 นิวตัน
2. 9 นิวตัน
3. 20 นิวตัน
4. 36 นิวตัน
7.วัตถุ 50 กิโลกรัม ถ้าต้องการให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่จะต้องออกแรงตามแนวราบอย่างน้อย 750 นิวตัน ถามว่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของพื้นกับวัตถุมีค่าเท่าใด (กำหนดให้ค่า g = 10 เมตรต่อวินาที )
1. 1.0
2. 1.5
3. 2.0
4. 2.5
8.ข้อใด ไม่ได้ เกิดโมเมนต์
1.มานะสะพายกระเป๋า
2.นรินทร์ใช้ค้อนตอกตะปู งัดตะปูออกจากแผ่นไม้
3.เอกใช้แผ่นไม้งัดก้อนหิน
4.ธิติพรหมใช้กรรไกรหนีบกระดาษ
9.การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไทล์ หมายถึง?
1.การเคลื่อนที่ในแนวตรง
2.การเคลื่อนที่เป็นวงกลม
3.การเคลื่อนที่ในแนวโค้ง
4.การเคลื่อนที่แบบเสรี
10.แรงที่กระทำขณะวัตถุเคลื่อนที่แนววงกลม คืออะไร
1.แรงโน้มถ่วงของโลก
2.แรงสู่ศูนย์กลาง
3.แรงหนีศูนย์กลาง
4.แรงหลุดพ้น
1.งานในความหมายของบทเรียนนี้คืออะไร?
1.ผลคูณของแรงกับขนาดของการกระจัดของวัตถุ
2.ผลคูณของอัตราความเร่งกับการกระจัด
3.ผลคูณของแรงกับความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
4.อัตราส่วนของขนาดของแรงกับระยะกระจัดของวัตถุ
2.การออกแรง 10 นิวตันผลักวัตถุให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอในระยะทาง 3 เมตร งานที่เกิดเป็นกี่จูล
1. 10
2. 30
3. 50
4. 70
ใช้ตารางต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 3-4
แรงที่ใช้ยกวัตถุ (นิวตัน) คงที่ ความสูงที่ยกวัตถุขึ้น(เมตร) งานที่เกิดขึ้น(จูล)
10 1 10
2 20
3 30
4 40
5 50
3.การยกวัตถุขึ้นสูง 5 เมตร งานที่เกิดขึ้นเป็นเท่าใด
1. 10
2. 30
3. 50
4. 70
4.การออกแรงยกวัตถุ 10 นิวตัน ได้งาน 20 จูล แสดงว่าความสูงที่ยกวัตถุขึ้นได้เป็นกี่เมตร
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4
5.ถ้าออกแรงยกวัตถุหนัก 25 นิวตัน ขึ้นจากพิ้นสูง 7 เมตร จะได้งานเท่าใด
1. 145
2. 155
3. 165
4. 175
6. การที่น้ำที่มีปริมาตรมากสามารถกักเก็บความร้อนเอาไว้ได้มากว่าน้ำที่มีปริมาตรน้อย โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิเท่ากัน ความสามารถดังกล่าว เรียกว่าอะไร
1.ความจุความร้อนจำเพาะ
2.ความร้อนแฝงจำเพาะ
3.การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
4.การดูดกลืนความร้อนจำเพาะ
7. การที่เรานำไข่ก่อนต้มไปวางบนขดลวดไข่จะลอดขดลวดมาได้ แต่เมื่อเรานำไข่ไปต้มให้สุกแล้ว นำไปวางบนขดลวด ไข่จะไม่สามารถลอดผ่านขดลวดได้ เนื่องจากไข่เกิดการขยายตัวใหญ่กว่าเดิม นักเรียนคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไข่เกิดการขยายตัว
1. ความร้อน
2. ความหนาแน่น
3. ความดัน
4. สรุปไม่ได้
8.วัตถุ a มีอุณหภูมิสูงกว่าวัตถุ b การถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุจะเป็นอย่างไร
1. วัตถุ a จะถ่ายเทพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ b
2. วัตถุ b จะถ่ายเทพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ a
3. วัตถุ a และ b ต่างก็ถ่ายโอนพลังงานความร้อนแก่กันและกัน
4. ไม่มีข้อใดถูก
9.การที่วัตถุ a มีการถ่ายโอนพลังงานความร้อนไปยังวัตถุ b เป็นเพราะอะไร
1. เพราะมีความดันมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
2. เพราะมีความอุณหภูมิมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
3. เพราะมีความหนาแน่นมากกว่าจึงสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังวัตถุ b ได้
4. อธิบายไม่ได้
10 การถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากวัตถุที่มีอุณหภูมิมากไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า เราเรียกว่าอะไร
1. การดูดความร้อน
2. การคายความร้อน
3. การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
4. การสืบทอดความร้อน
1. ถ้าไม่มีบรรยากาศ ห่อหุ้มโลกในเวลากลางวันจะมีอุณหภูมิ เท่าไร
1. 180 องศาเซลเซียส
2. 110 องศาเซลเซียส
3. -180 องศาเซลเซียส
4. -110 องศาเซลเซียส
2. ในบรรยากาศมีปริมาณก๊าซเฉื่อยกี่เปอร์เซ็นต์
1. 0.93
2. 20.95
3. 78.08
4. 0.01
a. บรรยากาศ หมายถึง อากาศที่อยู่รอบตัวเราและภายในโลก
b. ถ้าไม่มีบรรยากาศแล้วอุณหภูมิตอนกลางวันจะสูงถึง 110 องศาเซลเซียส
c. บรยากาศช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต
3. จากคำกล่าวข้างต้นข้อใดถูกต้องที่สุด
1. ข้อ a และ b 2. ข้อ b และ c 3. ข้อ c เท่านั้น 4. ข้อ a,b และ c
ใช้ตารางต่อไปนี้ ตอบคำถาม
ส่วนประกอบของอากาศ ปริมาณ (ร้อยละโดยปริมาตร)
A 0.93
B 0.01
C 0.03
D 78.08
E 20.95
4.ก๊าซ A คือก๊าซชนิดใด
1. ก๊าซไนโตรเจน
2. ก๊าซอาร์กอน
3. ก๊าซคาร์บอนใดออกไซต์
4. ก๊าซ ออกซิเจน
5.ก๊าซใดที่พืชใช้หายใจ
1. ก๊าซ A
2. ก๊าซ B
3. ก๊าซ C
4. ก๊าซ E
6.ก๊าซใดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
1. ก๊าซ A
2. ก๊าซ C
3. ก๊าซ D
4. ก๊าซ E
7. อากาศมีความหนาแน่น 2.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาตร 16 ลูกบาศก์เมตร จะมีมวลกี่กิโลกรัม
1. 45
2. 43
3. 40
4. 35
8. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็ว ไม่เกิน 63 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ถือว่าเป็นพายุชนิดใด
1. พายุใต้ฝุ่น
2. พายุโซนร้อน
3. พายุดีเปรสชัน
4. พายุเฮอริเคน
9.ข้อใดหมายถึงการพยากรณ์อากาศ
1. การการอธิบายลักษณะของอากาศหลังจากที่ฝนหยุดตก
2. การบอกลักษณะของอากาศหลังจากที่เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว
3. การสังเกตฝูงมดเมื่อมีการย้ายรัง
4. การคาดการณ์ลักษณะของอากาศล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. ใช้ตารางต่อไปนี้ ตอบคำถาม
แหล่ง ปริมาณสารพิษ(ตัน/ปี)
ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน
การคมนาคมขนส่ง 7515 47339 4065700 17952
โรงไฟฟ้า 96300 153087 2143 1054
อุตสาหกรรม 62701 106735 110212 6569
เกษตรกรรม 54022 36087 34666 1882
การบริการ 4221 2145 108397 1525
ครัวเรือน 67109 2997 4941 4942
สารพิษจากแหล่งใด มีปริมาณก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์มากที่สุด
1. อุตสาหกรรม
2. โรงไฟฟ้า
3. เกษตรกรรม
4. ครัวเรือน
1. ตอบข้อ 4
2. ตอบข้อ 2
3. ตอบข้อ 2
4. ตอบข้อ 1
5. ตอบข้อ 2
6. ตอบข้อ 3
7. ตอบข้อ 1
8. ตอบข้อ 1
9. ตอบข้อ 4
10. ตอบข้อ 2 11. ตอบข้อ 2
12. ตอบข้อ 2
13. ตอบข้อ 4
14. ตอบข้อ 1
15. ตอบข้อ 2
16. ตอบข้อ 1
17. ตอบข้อ 2
18. ตอบข้อ 1
19. ตอบข้อ 2
20. ตอบข้อ 4 21. ตอบข้อ 1
22. ตอบข้อ 4
23. ตอบข้อ 2
24. ตอบข้อ 1
25. ตอบข้อ 3
26. ตอบข้อ 3
27. ตอบข้อ 1
28. ตอบข้อ 3
29. ตอบข้อ 4
30. ตอบข้อ 2 31. ตอบข้อ 1
32. ตอบข้อ 1
33. ตอบข้อ 1
34. ตอบข้อ 2
35. ตอบข้อ 3
36. ตอบข้อ 2
37. ตอบข้อ 1
38. ตอบข้อ 3
39. ตอบข้อ 2
40. ตอบข้อ 4

ไม่มีความคิดเห็น: